วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

รู้หรือไม่ เกี่ยวกับพหุนาม



รู้หรือไม่ ?
การแก้สมการพหุนาม


     เรื่องการแก้สมการพหุนาม และสอนทั้งการใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือ และการหารสังเคราะห์ประกอบกัน นักเรียนก็จะงง ตัวผมเองก็งง และมีคำถามว่า จะให้ทฤษฎีบทเศษเหลือทำไม ในเมื่อหารสังเคราะห์ก็ใช้ได้ และใช้ได้ดีกว่าด้วย (ในมุมมองส่วนตัว)
วันนี้จะคุยกันเรื่องนี้ก็แล้วกันครับ
ทฤษฎีบท    (ทฤษฎีบทเศษเหลือ: Remainder Theorem)
ถ้าหารพหุนาม p(x) ด้วย x – c เมื่อ c เป็นจำนวนจริงใด ๆ แล้ว เศษจากการหารจะเท่ากับ p(c)
เช่น
ตัวอย่าง    จงหาเศษเหลือจากการหาร x4 – 5x3 + 2x2 – x + 2 ด้วย x – 3
วิธีทำ         ในที่นี้ x – c = x – 3  ดังนั้น c = 3
ใ้ห้  p(x) =  x4 – 5x3 + 2x2 – x + 2
เศษเหลือจากการหาร p(xด้วย x – 3 คือ p(3)
จะได้     p(3) = 34 – 5(33)+ 2(32) - 3 + 2 
                = 81 – 135 + 18 – 3 + 2 
                = -37

แต่ถ้าเป็นการหารที่ลงตัว หรือ หารผลหาร หรือ โจทย์ต้องการให้แยกตัวประกอบ หรือ แก้สมการ
ใช้การหารสังเคราะห์จะได้ประโยชน์มากกว่า และเร็วกว่าด้วยครับ
เช่น  (2x3 – x2 – 8x + 15) ÷ (x – 2) = ? ด้วยวิธีการหารยาวแบบธรรมดา เราสามารถหาผลหารได้ดังนี้
         แต่ว่าการตั้งหารแบบการหารยาวข้างต้นนั้นเสียเวลาและเสียพื้นที่มาก เราจะใช้วิธีการหารโดยการไม่เขียนตัวแปร และจัดรูปแบบการหารใหม่ ดังนี้
ซึ่งพอจะสรุปวิธีการหารสังเคราะห์คร่าวๆ ได้ดังนี้ครับ
สมมติให้ p(x) แทนพหุนามที่มีดีกรีมากกว่าหรือเท่ากับ 1
ถ้าต้องการหาร p(x) ด้วย x – c เมื่อ c  0 ด้วยวิธีการหารสังเคราะห์ 
จะมีวิธีการดังต่อไปนี้
1.  เขียนสัมประสิทธิ์ของพจน์ต่าง ๆ ของ p(x) โดยเขียนเรียงลำดับกำลังของ x จากมากไปหาน้อย และพจน์ใดไม่มีถือว่าสัมประสิทธิ์ของพจน์นั้นเท่ากับ 0
2.  เขียน c เป็นตัวหาร
3.  จำนวนแรกในแถวที่ 1 ให้ดึงลงมาในแถวที่ 3
4.  นำ c คูณกับจำนวนแรกของแถวที่ 3 นำผลคูณที่ได้มาใส่ในตำแหน่งที่สองของแถวที่ 2
5.  บวกจำนวนในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 ในตำแหน่งที่สอง นำผลบวกใส่ในตำแหน่งเดียวกันกับแถวที่ 3
6.  นำ a มาคูณกับจำนวนในตำแหน่งที่สองของแถวที่ 3 นำผลคูณใส่ในตำแหน่งที่สามของแถวที่ 2
7.  บวกจำนวนในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 ในตำแหน่งที่สาม   นำผลบวกใส่ในตำแหน่งเดียวกันกับแถวที่ 3
ทำเช่นนี้เรื่อยๆ ไป จนหมดทุกตำแหน่ง แล้วจะได้ว่า
      • จำนวนแต่ละจำนวนที่ได้ในแถวที่ 3 (ยกเว้นจำนวนสุดท้าย) เป็นสัมประสิทธิ์ของของผลหาร ซึ่งจะเป็นพหุนามที่มีดีกรีน้อยกว่าดีกรีของ p(x) อยู่ 1
      • จำนวนสุดท้ายของแถวที่ 3 เป็นเศษของการหาร




วีดิโอ การคูณ แลการบวกการลบ เอกนามและพหุนาม



 วันที่ 27 กันยายน 2556
ที่มา : http://coolaun.com/m4/admath4/equation/polyequa/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น